Saturday, December 17, 2011

สัปดาห์ที่ 3-2/2554 : การทดสอบการเรียนรู้เครื่องมือออกแบบตัวอักษรออนไลน์ด้วยตนเอง


สัปดาห์ที่ 3-2/2554 : เป็นการทดสอบการเรียนรู้เครื่องมือออกแบบตัวอักษรออนไลน์ด้วยตนเอง

แจ้งข่าวถึงกลุ่มที่เรียนและฝึกออกแบบ Font เทอม2/2554: Fontself Template:ไฟล์แม่แบบสำหรับพิมพ์และนำมาเขียนอักษรตามช่องตารางด้วยลายมือ ใช้ปากกาหนาสีดำหรือให้ลองสีเข้มอื่นๆ แล้วสแกนภาพที่ ความละเอียด 200 dpi ขึ้นไป บันทึกเป็นไฟล์.jpg หรือ .png หรือจะเขียนด้วยเม้าส์ปากกาในโปรแกรมกราฟิก แล้วบันทึกเป็นไฟล์สำหรับ import เข้าในขั้นตอนที่ 2 เพื่อสร้างฟ้อนต์ลายมือสำหรับส่งอีเมล ใช้ได้เฉพาะภาษาอังกฤษ ยังไม่สนับสนุนการสร้างฟ้อนต์ภาษาไทย เอาไว้ฝึกจัด Bearing และ Kerning

อาจารย์ได้ส่งถึงทุกแล้วดูและดาวน์โหลดได้จากแฟ้มไฟล์ที่แชร์ให้แต่ละกลุ่ม อีกไฟล์ให้ใช้เป็นทดสอบ ส่วนไฟล์ลายมือส่วนตัวให้ส่งต้นฉบับและสแกนใส่ Thumdrive ติดตัวมาด้วย เพื่อใช้เรียนและฝึกในชั้นเรียนในสัปดาห์ที่3

สัปดาห์ที่ 2 ภาคเรียนที่ 2/2554 :Online Pretest

สัปดาห์ที่2 เป็นการทดสอบความรู้ก่อนการเรียน Pretest ที่ Dokeos e-Learning ที่ http://chandraonline.chandra.ac.th/dokeos

Sunday, September 18, 2011

Weblog เว็บบล็อก

Blog เป็นคำที่เรียกย่อมาจากศัพท์คำว่า Weblog หรือ Web Blog เป็นคำที่ใช้อธิบายลักษณะของการบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารหรือสารสนเทศรูปแบบต่างๆ ที่ส่งเข้า (Input)เพื่อการจัดเก็บ (Store) และค้นคืน (Forward) ได้ในระบบเว็ปไซต์เป็นระยะๆ ซึ่งโดยปกติจึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบการปรับปรุงและนำเสนอสาระเนื้อหาต่างๆ ที่ทันต่อเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา การเขียนบันทึกประจำวันส่วนตัว ที่เป็นบันทึกจากประสบการณ์ ความรู้หรือการเล่าเรื่องที่เป็นสาระใดๆ ทั้งที่เป็นประเด็นส่วนตัว ประเด็นด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ แล้วนำเสนอขึ้นเผยแพร่ไว้เป็นองค์ความรู้ หรือนำเสนอเป็นประเด็น แง่คิด คำคมและหรือตั้งเป็นประเด็นให้ผู้อ่านท่านอื่นๆที่สนใจได้เข้ามามีส่วนร่วม อภิปราย แสดงความคิดเห็นหรือให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเขียนร่วม ร่วมเชื่อมโยงอ้างอิงไปใช้ได้ผ่านทางเว็บไซต์
“Blog” is an abbreviated version of “weblog,” which is a term used to describe web sites that maintain an ongoing chronicle of information. A blog is a frequently updated, personal website featuring diary-type commentary and links to articles on other Web sites. Blogs range from the personal to the political, and can focus on one narrow subject or a whole range of subjects.

Friday, August 12, 2011

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

มาตรฐานผลการเรียนรู้ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต   สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2554

1.ทักษะคุณธรรมและจริยธรรม ที่ต้องการพัฒนา
   1.1 ตระหนักรู้ในคุณค่าและรักษา คุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาบรรณวิชาชีพทางศิลปกรรม
   1.2 มีระเบียบวินัย  ตรงต่อเวลา  และรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
   1.3.เป็นผู้รู้และปฏิบัติตามกฏ กติกา มารยาททางสังคม ด้วยความซี่อสัตย์ สุจริต และจัดลำดับความสำคัญได้อย่างมีหลักการและเหตุผล
   1.4. เคารพสิทธิ ศักยภาพ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล พร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย
   1. 5. การเคารพและใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆตามกฏหมายของสังคมอย่างถูกต้อง เป็นธรรม มีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะของผู้คิดริเริ่ม ผู้สร้างสรรค์ ผู้นำเสนอเผยแผ่และพัฒนาผลงานศิลปกรรมสู่สังคม
   1. 6. เคารพ นับถือ เห็นคุณค่า พิทักษ์รักษา สืบสานประสานผลประโยชน์ ต่อวงการสร้างสรรค์ศิลปกรรมทั้งระดับประเทศและสากลประเทศ
2.ทักษะความรู้ ที่ต้องการเน้น ที่ต้องการพัฒนา
   2.1 มีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาทางศิลปกรรมตามสาขา หรือแขนงที่ศึกษาทั้งในแนวกว้างและลึก
   2.2 สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้  บูรณาการเนื้อหาและเทคนิควิธีจัดการงาน ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการคิดสร้างสรรค์
   2.3 มีความตระหนักรู้  ความพยายามในการพัฒนาผลงาน ด้วยการใฝ่พัฒนาตน ฝึกฝนทักษะความชำนาญทางศิลปกรรมอย่างต่อเนื่อง
   2. 4. สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิสัยทัศน์ในการทำงานสร้างสรรค์ ให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และผลกระทบของวิทยาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
   2.5.สามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรมร่วมกับความรู้ในศาสตร์สาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้
3.ทักษะทางปัญญา ที่ต้องการพัฒนา
   3.1.สามารถแสดงผลการคิดวิเคราะห์ปัญหา  เข้าใจและจดจำลำดับขั้นตอนวิธีการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างถูกวิธี มีการอรรถาธิบาย ด้วยการใช้สื่อและสาร ผ่านการแสดงออกอย่างชาญฉลาด เหมาะสม งดงามตามวัตถุประสงค์และหลักการทางศิลปกรรมอย่างเป็นระบบ
   3.2.สามารถใช้ทักษะชำนาญการทางศิลปกรรมผสานสัมพันธ์กับระดับสติปัญญา เพื่อสื่อแสดงการสืบค้น  การเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ด้วยการสื่อความหมาย การตีความ การวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างสร้างสรรค์ และอย่างเป็นผู้รู้ตามระดับสติปัญญา
   3.3.สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะปฏิบัติการทางวิชาชีพศิลปกรรมและการบริหารจัดการงานด้วยภูมิปัญญาแห่งตน ภูมิปัญญาไทยและความรู้ร่วมสมัยสากลได้อย่างเหมาะสม

   3.4.มีความสามารถในการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานที่สร้างสรรค์ สู่สาธารณะและสากล หรือเพื่อสร้างโอกาสการอาชีพ ได้อย่างสอดคล้องกับภาวะการณ์ สถานการณ์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

Saturday, August 6, 2011

โปรแกรมสร้างไดอะแกรมฟรี: Lovelychart

โปรแกรมเครื่องมือออนไลน์สร้างชาร์ต แผนภูมิหรือไดอะแกรม ฟรี หรือฟรีแอบส์ (Applications)เสริมของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์กูเกิ้ลโครม คลิกติดตั้งง่ายๆผ่านทางส่วนขยายของ GoogleChrome ด้วยการสมัครเป็นสมาชิกฟรี มีที่จัดเก็บไฟล์ฟรีใช้งานได้ง่ายๆ เหมาะสำหรับการเขียนสรุปแผนผังทางการวางแผนงาน แสดงขั้นตอนหรือลำดับความคิดทางการออกแบบสร้างสรรค์ เป็นการสรุปกรอบแนวคิดในการดำเนินงาน ที่นักศึกษาศิลปกรรม อาจารย์ผู้สอนหรือผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้งานในการนำเสนอ ผลสรุปการทำงานโครงการใดๆ เป็นภาคภาษาอังกฤษ ตอนนี้ยังไม่สนับสนุนภาษาไทย แต่สะดวกและง่ายต่อการสร้าง ออกแบบ แก้ไข บันทึกจัดเก็บออนไลน์ได้ โดยสามารถส่งออกเป็นไฟล์ภาพ .jpg และ.png ลงมาจัดเก็บใช้งานได้  ก่อนใช้งานต้องติดตั้ง Google Chrome Web Browser ของ Google และ เป็นสมาชิกอีเมลของเขาก่อนนะครับ ยังมีโปรแกรมฟรีของกูเกิ้ลให้ใช้อีกเยอะ ลองดูนะครับ ในภาพนี้คือผลงานทดลองใช้สร้างแผนภูมิแสดง-สรุปขั้นตอนการทำงานการออกแบบแบรนด์หรือตราสัญลักษณ์ให้กับเครือข่ายวิสาหกิจข้าวโพดหวาน จังหวัดกาญจนบุรี 5/8/2554 ที่กำลังดำเนินการอยู่ในช่วงนี้(มิ.ย.-ก.ย. 2554)

Sunday, July 24, 2011

ผลงานทดลองออกแบบฟ้อนต์ของนักศึกษา ด้วยเครื่องมือออนไลน์ fontstruct.com

ผลงานของนักศึกษาที่ทดลองออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์(Typeface) ชื่อ font cru-nassaran

ผลงานของนักศึกษาที่ทดลองออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์(Typeface) ชื่อ font cru-kanyaporn

ผลงานของนักศึกษาที่ทดลองออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์(Typeface) ชื่อ font cru-saeangdeuan

ผลงานของนักศึกษาที่ทดลองออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์(Typeface) ชื่อ font cru-trirat-arti3319


Tuesday, July 19, 2011

เครื่องมือโปรแกรมเขียนแบบ 3 มิติ ฟรีออนไลน์ Online tool : 3DVIA Shape 4.0

เครื่องมือโปรแกรมเขียนแบบ 3 มิติ ฟรีออนไลน์  3DVIA Shape 4.0,เปิดให้ดาวน์โหลดลงมาติดตั้งในเครื่องของเราฟรี ทำงานง่ายสำหรับผู้เริ่มต้น สำหรับการสร้างรูปทรงวัตถุ 3 มิติ แสดงมุมมองด้านต่างๆได้ง่าย มีการเชื่อมโยงใช้แบบสำเร็จรูปจากฐานข้อมูลด้วย สามารถใช้นิ้วเขียนควบคุมการทำงานและการใช้เครื่องมือร่วมกับจอภาพแบบทัชสกรีนได้ด้วย เหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการร่างแบบแสดงแนวความคิดในการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบตกแต่งภายในหรือสร้างภาพศิลปะ 3 มิติใดๆ ได้ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งทำงานได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ หากอยากได้ผลงานที่สำเร็จก็เพียงแค่บัยทึกภาพแบบจับหน้าจอลงมาเก็บไว้(Screenshot) มีโหมดสอน
ให้คำแนะนำ-แสดงวิดีโอการใช้งานให้เรียนรู้ด้วยตนเอง หากไม่ลองก็ไม่รู้และไม่เกิดทักษะวิชาชีพแก่ตน หากท่านใดเคยใช้ Google Sketchup หรือโปรแกรม 3D มาบ้างแล้วก็คงทราบว่าเป็นเครื่องมือฟรีที่ควรมีไว้เป็นสต๊อกในทักษะวิชาชีพแห่งตน

Sunday, July 10, 2011

โครงสร้างมาตรฐานตัวอักษรไทยและลาติน

สัดส่วนโครงสร้างมาตรฐานตัวอักษรไทยที่ราชบัณฑิยสถานกำหนดไว้เป็นแบบหลัก
สัดส่วนโครงสร้างมาตรฐานตัวอักษรลาตินหรือโรมัน

ศัพท์มาตรฐานเฉพาะโครงสร้างของแบบตัวอักษรลาตินหรือโรมัน(Latin Typeface Anatomy)ที่นักออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ควรต้องทราบและท่องให้ขึ้นใจ เพราะต้องใช้กำหนดข้อมูล การหมวดหมู่คุณลักษณะของแบบตัวพิมพ์ใน Font information ให้ถูกต้อง

Week4:กระบวนการและขั้นตอนการออกแบบ(The Design Process)

กระบวนการออกแบบที่อาจารย์แชร์ให้ทุกคนที่แจ้งอีเมลในแบบประเมินผลไปแล้ว ให้นักศึกษาแต่ละคนดูและทำความเข้าใจ ขยายความ ตีความและศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วจึงทดลองดำเนินการตามขั้นตอนสัก 2- 3 แบบ เพื่อเป็นแบบทางเลือก สำหรับวิธีการเขียนรายงานก็ให้ไปดูใน sites.google.com/site/artthesis กรณีศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์ของเล่น และดูไฟล์ตัวอย่างแนวทางการศึกษาวิธีการออกแบบรรจุภัณฑ์จาก slideshare.net ที่อาจารย์เผยแพร่ให้ศึกษาด้วยตนเองแล้วนี้

Thursday, June 30, 2011

การสร้างบล็อกรายงานสรุปผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ รายสัปดาห์


ประกาศเรื่องการทำบล็อกสรุปและรายงานผลการเรียนรู้รายสัปดาห์ทั้งงานกลุ่มและเดี๋ยวส่วนตัว ทั้งในวิชาarti3314 และ arti3319
1.ก่อนอื่นต้องสร้างตามเงื่อนไขก่อนคือ สร้างURL ของBlogger ด้วยชื่อจริงตามด้วย-arti3314 เช่น prachid-arti3314 ชื่อที่เป็นเว็บบล็อกส่วนตัวที่ถูกต้องก็จะเป็น http://prachid-arti3314.blogspot.com หากสมัครไม่ได้ ไม่ผ่าน ก็คงเพราะมีชื่อซ้ำ ก็เพิ่มอักขระนามสกุลตามหลังชื่อเข้าไปสักตัว หากยังไม่ได้อีก ก็แสดงว่าเริ่มเห็นอนาคตแล้วหละ่ว่า เรียนซ้ำอีกแน่นอน....ฮา...
5.2.เข้าจัดการให้จัดออกแบบชุดรูปแบบจัดเอง กำหนดหน้าเว็บบล็อกเป็น 3 คอลัมน์ ความกว้างของหน้า 980px แถบด้านข้างซ้าย-ขวากว้าง 200 px โดยให้ใช้ภาพพื้นหลังด้วยไฟล์ที่อาจารย์แชร์ให้ในโฟลเดอร์ส่งงานในgoogledocs ชื่อไฟล์ภาพ Artchandra-ict-tqf-blogspot-background....jpg เป็นภาพพื้นหลังให้เหมือนกันทุกคน สีเทาจะเป็นของวิชา arti3314 สีเหลืองเป็นของ arti3319 เพื่อเป็นการนำเอากราฟิกเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไปใช้เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ช่วยกันทำให้ดี ให้สวยตรวจสอบความชัดเจนในการอ่าน เช่นจัดแบบอักษร ขนาด สีสัน สร้างสรรค์ให้เป็นโปรไฟล์ที่ให้เกียรติแก่ สถาบันที่เรียน ต่อชาติวงศ์ตระกูลตนเอง และให้มีสาระน่าเชื่อถือ ด้วยสติและปัญญาเยี่ยงผู้จะจบไปเป็นบัณฑิตที่จะสรรค์สร้างผลงานอันล้ำเลิศให้แก่สังคม หากทำไม่ได้ไม่เข้าใจให้สอบถามอาจารย์และผู้รู้หรือแม้แต่เพื่อนๆเราเอง อย่าทำโดยไม่รู้รับผิดชอบ เพราะเมื่อสร้างเว็บแล้วมันก็คือการป่าวประกาศให้ชาวโลกได้รู้ด้วย กิจกรรมนี้เน้นให้ศึกษาด้วยตนเอง อาจารย์เป็นที่ปรึกษาและผู้พิพากษาไปในตัว

Sunday, May 8, 2011

สัปดาห์ที่1 ของการเรียนวิชา arti3319

Home:เว็บไซต์การจัดการความรู้อย่างพอเพียง สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม รายวิชา :ARTI3319 Visual Communication Technology

นักศึกษาที่เข้าเรียนวันแรกของการเรียน มี 10 คน มาสาย 1 คน จากจำนวนที่ลงทะเบียนไว้ 19 คน ครั้งแรกก็แนะนำวิชา กิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกเวลาในชั้นเรียน แผนการจัดการเรียนการสอน และมีการทดสอบก่อนเรียนที่เว็บไซต์ระบบอีเลิร์นนิ่ง http://www.clarolinethai.info

เว็บไซต์จัดการความรู้อย่างพอเพียงที่ http://sites.google.com/site/arti3319 และเว็บไซต์บันทึก ติดตามและทบทวนกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ bolgger แห่งนี้


ARTI3319 เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ 3(2-2-5) (Visual Communication Technology) 
    คำอธิบายรายวิชาหลักสูตรเดิม(2543) ศึกษาการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อใช้ในการสร้างสรรค์งานนิเทศศิลป์ 

คำอธิบายรายวิชา(ใหม่คาดว่าจะใช้ในปี 2554)
    ศึกษาทฤษฎีความรู้กระบวนการ ทักษะวิธีการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศต่างๆที่มีมาแต่เดิม(Legacy)ที่กำลังใช้อยู่ปัจจุบัน(Core) และที่กำลังพัฒนา(Emerging) เพื่อนำมาช่วยในกระบวนการคิดวิเคราะห์ การสร้างสรรค์และการนำเสนอผลงานออกแบบนิเทศศิลป์ โดยคำนึงถึงการปรับประยุกต์ใช้ทักษะกระบวนการให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน ระบบเศรษฐกิจพอเพียงและความต้องการของตลาดแรงงาน  

จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1 เพื่อให้นักศึกษาตระหนักรู้ในคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ในการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์
2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ได้ฝึกทักษะการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ 
3 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการนำเสนอแฟ้มผลงานและการสรุปรายงานผลการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการใช้รูปแบบ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ตามวิถีทางของนักออกแบบและทำงานได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบัน 

วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา 
1 เพื่อให้รายวิชามีความทันสมัย อย่างสากล ที่สามารถสอดรับกับองค์ความรู้ใหม่ การฝึกทักษะและเทคนิคกระบวนการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ ได้สอดคล้องกับตลาดแรงงานจริงปัจจุบัน หรือบูรณาการใช้กับรายวิชาปฏิบัติการในหลักสูตรสถานศึกษาอื่นๆได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต 
2 เพื่อสามารถบูรณาการสื่อการสอน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์สนับสนุนเนื้อหาสาระ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้หลากหลายวิธี ให้มีความสอดคล้อง ยืดหยุ่น เหมาะสมกับศักยภาพและความเป็นจริงปัจจุบันหรืออนาคตของการวางแผนพัฒนา ผู้สอน ห้องเรียนห้องปฏิบัติการ นักศึกษา สังคม สิ่งแวดล้อมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงไป

 ข้อตกลงเบื้องต้น 
การพิจารณาเกณฑ์ผ่านในรายวิชาผู้เรียนจะต้อง
1.มีเวลาเข้าชั้นเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด หากเวลาเรียนไม่พอตามที่กำหนดจะพิจารณาผลเป็นตกเนื่องจากเวลาเรียนไม่พอ ไม่มีสิทธิ์สอบ โดยได้รับค่าระดับคะแนน F (Failed, Insufficient Attendance)
2. ผู้เรียนจะต้องมีคะแนนรวมทั้งรายวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนรวมทั้งหมด
3.ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ข้อ 2 จะได้รับค่าระดับคะแนนตามเกณฑ์ ดังนี้
คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป จะได้ค่าระดับคะแนน A
คะแนนร้อยละ 75-79 จะได้ค่าระดับคะแนน B+
คะแนนร้อยละ 70-74 จะได้ค่าระดับคะแนน B
คะแนนร้อยละ 65-69 จะได้ค่าระดับคะแนน C+
คะแนนร้อยละ 60-64 จะได้ค่าระดับคะแนน C
คะแนนร้อยละ 55-59 จะได้ค่าระดับคะแนน D+
คะแนนร้อยละ 50-54 จะได้ค่าระดับคะแนน D
คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 50  จะได้ค่าระดับคะแนน F
4.ผู้เรียนต้องใช้อีเมลชื่อจริงนำหน้า@gmail.com และเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวตามจริงและเปิดเผยได้ เพื่อแสดงตัวและรับรู้ข่าวสาร การทำกิจกรรมออนไลน์และการประเมินผลการเรียนการสอนตามที่แจ้งและตกลงในชั้นเรียนปกติ

LinkWithin

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...